ความรู้แบตเตอรี่รถยนต์ สาเหตุที่ทำให้ แบตเตอรี่รถยนต์เสื่อม

ความรู้แบตเตอรี่รถยนต์ สาเหตุที่ทำให้ แบตเตอรี่รถยนต์เสื่อม

อาการของ แบตเตอรี่รถยนต์เสื่อม
ให้สังเกต ด้วยกระบวนการดังนี้

1. การประจุไฟที่น้อยเกินควร Under Charging
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:
– เกิดคราบขาวที่แผ่นธาตุของแบตเตอรี่ส่งผลให้ประจุไฟได้ยาก
– ทำให้แผ่นธาตุจะเสื่อมสภาพ

2. การประจุไฟที่มากเกินควร Over Charging
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:
– น้ำกลั่นแปรสภาพเป็นแก๊สมากทำให้ระดับน้ำกลั่นลดลง
– อุณหภูมิสูงขึ้นมากทำให้แผ่นธาตุเสื่อม
– ทำให้ผงตะกั่วเกิดการสึกกร่อนจากแผ่นธาตุ
– แผ่นธาตุงอโค้ง
– ลดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์

3. การลัดวงจรในช่องแบตเตอรี่รถยนต์ Short Circuit
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:
– เกิดตะกอนที่อยู่ส่วนล่างของหม้อแบตเตอรี่มากเกินไป
– เกิดจากการแตกหักหรือการเสื่อมสภาพของแผ่นกั้นระหว่างแผ่นธาตุบวก และแผ่นธาตุลบ

4. ปัญหาระบบไฟในรถ
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:
– การติดเครื่องเสียง สัญญาณกันขโมย อุปกรณ์เสริมในรถเพิ่มเติม (ไฟไม่พอ)
– การเปลี่ยนแปลงขนาดของแบตเตอรี่
– การลัดวงจรของสวิทซ์ไฟต่างๆในรถ
– ประสิทธิภาพการทำงานของไดชาร์จไม่เต็มที่

5 การมีสารอันตรายปะปนในหม้อน้ำแบตเตอรี่รถยนต์ Impurity
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:
– น้ำกรดไม่ได้คุณภาพ
– น้ำกลั่นที่เติมลงไปไม่บริสุทธิ
– เติมน้ำกลั่นสี (สารหล่อเย็น) ลงไป

6 การเกิดซัลเฟต (Sulfation)
แผ่นธาตุที่มีผลึกซัลเฟตสีขาวเกาะติดอยู่ที่บริเวณแผ่นธาตุ เกิดจาก…..
– ปล่อยทิ้งแบตเตอรี่ไว้นานๆ โดยไม่นำไปใช้
– การประจุไฟที่น้อยเกินไป (Under Charging)
– แผ่นธาตุโผล่พ้นระดับน้ำกรด

ชนิดของแบตเตอรี่รถยนต์

1. แบตเตอรี่น้ำ (เติมน้ำกรดแล้วชาร์จไฟในครั้งแรก จากนั้นต้องหมั่นดูแลระดับน้ำอยางสม่ำเสมอ)

2. แบตเตอรี่แห้ง (Free Maintenance) หรือโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า “แบตแห้ง” (แบตเตอรี่ชนิดนี้มีการเติมน้ำกรดและชาร์จไฟมาจากโรงงาน ก่อนการติดตั้งสินค้าในครั้งแรกต้องทำการกระตุ้นแผ่นธาตุโดยการชาร์จไฟฟ้าระยะสั้นประมาณ 5-10 นาที จากนั้นไม่ต้องดูแลระดับน้ำ
ในระยะแรก (6 เดือนแรก) หลังจากนั้นควรดูแลประมาณ 3 เดือนครั้ง เนื่องจากแบตเตอรี่ชนิดนี้มีระบบป้องกันการระเหยของน้ำทำให้มีการระเหยของน้ำในแบตเตอรี่ต่ำมากแบตเตอรี่รถยนต์ทำหน้าที่ ป้อนกระแสไฟฟ้าให้อุปกรณ์ต่างๆของเครื่องยนต์เพื่อให้ทำงานได้ เช่น มอเตอร์สตาร์ทระบบจุดระเบิด ในขณะที่สตาร์ทรถยนต์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ป้อนพลังงานให้กับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหลายๆอย่าง ด้วยกัน เช่น ระบบไฟส่องสว่าง วิทยุ เป็นต้น 

แบตเตอรี่รถยนต์ไม่ใช่แหล่ง ผลิตกระแสไฟฟ้า แต่เป็นแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง

     เมื่อใดก็ตามที่ไดร์ชาร์จ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทัน เช่น การขับขี่ในตอนกลางคืนซึ่งใช้ระบบไฟเยอะกว่าปกติ ก็จะดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้ ขณะเดียวกันถ้าไดร์ชาร์จทำงานได้ดีขึ้น หรือ หมุนเร็วขึ้น ก็จะมีกระแสไฟฟ้าเหลือจากการใช้งาน ซึ่งก็จะถูกส่งกลับเข้าไปยังแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง (แบตเตอรี่) จนกว่าจะเต็มแบตเตอรี่จะถูกจ่ายไฟออกอย่างเดียวก็เฉพาะตอนสตาร์ทเครื่อง ยนต์เท่านั้น เพื่อส่งกระแสไฟเข้าสู่มอเตอร์สตาร์ท และ ระบบต่างๆของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติด และ ทำงานแล้ว ไดร์ชาร์จก็จะทำหน้าที่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง นั่นก็หมายความว่า กระแสไฟฟ้าจะถูกจ่ายออกไป และ ถูกประจุเพิ่มเข้าไป หมุนเวียนเข้าออกแบตเตอรี่อยู่เสมอ ไม่ได้จ่ายออกไปจนหมดอย่างเดียว นั่นหมายความว่าแบตเตอรี่จะหมดได้ก็มีอยู่เพียง 2 กรณี นั่นก็คือ

1. เก็บไฟไม่อยู่ หรือ หมดอายุการใช้งาน
2. ไดร์ชาร์จทำงานผิดปกติ หรือ บกพร่อง ซึ่งทำให้ประจุไฟเข้าไปยังแบตเตอรี่รถยนต์ได้น้อยมากไม่เพียงพอต่อการใช้งานหรือ ไม่สามารถประจุไฟเข้าไปได้เลย